ไข่เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสาร อาหารประเภทโปรตีน ทั้งยังมีไขมัน, ธาตุเหล็ก, ฟอสฟอรัส, วิตามินบี 12, วิตามินเอ และแร่ธาตุซึ่งมีประโยชน์ต่อการสร้างเซลล์ผิวหนัง ขน และเล็บ เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ มีค่าประมาณ 80 กิโล แคลอรี่/ฟอง จึงเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักรวมถึงบุคคลทั่วไปด้วย การจะบริโภคไข่เพื่อให้ได้คุณค่าควรบริโภคไข่ให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและเหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุดังนี้
เด็กอายุ 6 เดือน ควรใช้ไข่แดงบดผสมกับข้าวโดยเริ่มให้ตั้งแต่ปริมาณน้อยๆไปก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละนิด
เด็กอายุ 7 เดือนขึ้นไปจนถึงวัยรุ่น รับประทานได้ 1 ฟองต่อวัน
วัยทำงาน และมีสุขภาพที่ปกติ รับประทานได้ 3-4 ฟองต่อสัปดาห์
ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง ควรรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์
จากข้อมูลมีการเปรียบเทียบพลังงานที่ได้จากไข่แต่ละประเภท พบว่า
ไข่ต้ม 1 ฟอง ให้พลังงาน 80 กิโลแคลลอรี่
ไข่ลวก 1 ฟอง ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี่
ไข่ดาว ให้พลังงาน 165 กิโลแคลลอรี่
ไข่เจียว ให้พลังงาน 250 กิโลแคลลอรี่
จะเห็นได้ว่าไข่ต้มกับไข่ลวกให้พลังงานน้อยที่สุดจึงเหมาะสมผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักแล้วคราวนี้ระหว่างไข่ต้มกับไข่ลวก ไข่ชนิดไหนให้ประโยชน์มากกว่ากัน?
คำตอบ คือ “ไข่ต้ม” เพราะไข่ลวกเสี่ยงต่อการท้องเสียจากเชื้อ Salmonella spp. และไข่ลวกนั้นมีโปรตีนอะวิดิน ซึ่งโปรตีนตัวนี้จะไปขัดขวางการดูดซึมไบโอตินในร่างกายส่งผลให้ร่างกายขาดไบโอตินซึ่งเป็นวิตามินที่พบในอาหาร หรือสร้างขึ้นจากแบคทีเรียในลำไส้ อาการที่พบสำหรับผู้ที่ขาดวิตามินไบโอติน คือ
หมดเรี่ยวแรง เหนื่อยล้า และอาจมีอาการของการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ
มีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร
มีอาการทางระบบประสาท เช่น อาการนอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้า ประสาทหลอน
เกิดความบกพร่องของระบบผิวพรรณ เช่น มีอาการผิวแห้งเป็นผื่นคัน โดยเฉพาะบริเวณรอบดวงตา จมูก ปาก และ บริเวณอวัยวะเพศ ผิวคล้ำและเป็นจ้ำ การรับสัมผัสทางผิวพรรณผิดปกติ อาการผมร่วง
ระบบการเผาผลาญไขมันเกิดความบกพร่อง ส่งผลให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง และการเผาผลาญไขมันน้อยลงกลไกการทำงานของวิตามินไบโอตินในร่างกาย

ผู้เรียบเรียง : สุชาวดี นานเลิศ (นักวิทยาศาสตร์อาหาร, สงวนฟาร์ม)