top of page

“ไข่ไก่ปลอดสาร” ต้องปลอดสารอะไรบ้าง?

ผู้บริโภคในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะตื่นตัวเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่รับประทานกันมากขึ้น เนื่องจากโรคภัยต่างๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของประเทศไทยนั้นมีความเกี่ยวพันกับอาหารที่เรารับประทานกันอยู่ ผู้บริโภคในปัจจุบันจึงมักจะเลือกซื้ออาหารหรือวัตถุดิบที่มีความปลอดภัยมารับประทานไม่ว่าจะเป็น เนื้อสัตว์ออร์แกนิค ผักผลไม้ปลอดสาร เป็นต้น สำหรับไข่ไก่ก็เช่นเดียวกันหากไม่ทราบแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ อาจมีความเสี่ยงจากสารพิษตกค้างที่มากับไข่ไก่ได้ ดังที่จะได้เห็นว่าในปัจจุบันในท้องตลอดมีการจำหน่าย “ไข่ไก่ปลอดสาร” หรือผู้บริโภคบางท่านอาจตัดสินใจเลี้ยงไก่ไข่ไว้เองที่บ้านเพราะไม่เชื่อเรื่องความปลอดภัยของไข่ไก่ที่มาจากฟาร์มในระบบอุตสาหกรรม แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าคำว่า “ไข่ไก่ปลอดสาร” แท้จริงแล้วจะต้องปลอดสาร(พิษ)อะไรบ้าง ซึ่งถ้าเราอ้างอิงตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เลขที่ มกษ. 6702-2553 เรื่อง ไข่ไก่ นั้นมีการกำหนดควบคุมเรื่อง สารพิษ ไว้เพื่อควบคุมคุณภาพของไข่ไก่ที่จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค น่าเสียดายที่มาตรฐานไข่ไก่ดังกล่าวเป็นเพียงมาตรฐานแบบสมัครใจ ไม่ได้มีผลบังคับใช้ และค่าใช้จ่ายในการตรวจปริมาณสารตกค้างในไข่ไก่ให้ครบทุกตัวนั้นค่อนข้างสูงมาก จึงมีเพียงผู้ผลิตไข่ไก่จำนวนน้อยเท่านั้นที่ได้ทำการตรวจสอบผลผลิตไข่ไก่ของตนว่าได้มาตรฐานตามที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติได้กำหนดไว้ ซึ่งหากเข้าไปอ่านรายละเอียดของมาตรฐานดังกล่าว จะสามารถแบ่งสารพิษตกค้างออกเป็น 3 ประเภทได้แก่



1. สารพิษตกค้าง

สารตกค้างในสินค้าเกษตรที่เกิดจากการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร เช่นสารเคมีที่ใช้ควบคุมศัตรูพืชและสัตว์ ทั้งที่อนุญาตให้ใช้และไม่อนุญาตให้ใช้แล้วแต่ยังพบเจอการปนเปื้อนอยู่ ซึ่งถ้ามีการตรวจพบจะต้องไม่เกินปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่กำหนดไว้ใน มาตรฐานสินค้าเกษตร 9002-2559 และ 9003-2547 สำหรับ “ไข่ไก่ปลอดสาร” มีกำหนดไว้ทั้งสิ้น 21 ชนิดได้แก่


· 2,4-D · Chlorpyrifos · Carbaryl · Carbendazim/ benomyl · Carbosulfan · Carbofuran · Cypermethrin · Deltamethrin · Dicofol · Dithiocarbamates · Dimethoate · Diazinon · Paraquat · Pirimiphos-methyl · Fenitrothion · Methidathion · Profenofos · Methomyl · Acephate · Abamectin · Ethephon

2. สารปนเปื้อน

สารปนเปื้อน สารที่อาจมีการปนเปื้อนเข้ามาในไข่ไก่ได้จากกระบวนการผลิต หากไม่ได้ใช้อย่างถูกต้อง ระมัดระวัง และเป็นแบบสัมผัสกับอาหารได้ (Food Grade) ก็อาจจะมีการปนเปื้อนเข้ามาในไข่ไก่ได้ เช่นสารหล่อลื้นของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต โดยในมาตรฐานกำหนดชนิดของสารปนเปื้อนที่ต้องตรวจสอบ ใน “ไข่ไก่ปลอดสาร” คือ ตะกั่ว (Lead) ซึ่งหากปนเปื้อนในอาหาร เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกดูดซึมจากระบบทางเดินอาหาร ตะกั่วจะกระจายตัวอยู่ในกระแสเลือด ตับและไต หากมีการสะสมจนถึงระดับอันตราย ก็จะแสดงอาการทางระบบทางเดินอาหาร, อาการทางระบบประสาทส่วนปลาย, อาการทางสมอง (ซึ่งมักพบในเด็ก) และ อาการทางโลหิต


3. ยาสัตว์ตกค้าง

ยาสัตว์ตกค้างที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ เช่นเดียวกับมนุษย์เมื่อแม่ไก่มีอาการเจ็บป่วยในบางครั้ง อาจจำเป็นต้องมีการใช้ยาปฏชีวนะเพื่อการรักษา ซึ่งตามหลักการปฏิบัติการทางการเกษตรที่ดีสำหรับ ฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ (GAP) แล้วนั้นหากจำเป็นต้องใช้ยาจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างเคร่งครัดของสัตว์แพทย์ประจำฟาร์มเท่านั้น เนื่องจากยาปฏิชีวนะบางชนิดที่แม่ไก่ใช้จะเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ในมนุษย์ซึ่งบางชนิดอาจมีการตกค้างอยู่ในไข่ไก่ได้ เมื่อเรารับประทานเข้าไปบ่อยครั้งอาจทำให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะชนิดนั้นได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้สัตว์แพทย์เป็นผู้กำหนดชนิดของยา วิธีการใช้ยา ระยะเวลาการใช้ ระยะเวลาการหยุดยา ให้เหมาะสมกับอาการของโรคและอายุของไก่ไข่ โดยในมาตรฐานสินค้าเกษตร สำหรับ ”ไข่ไก่ปลอดสาร” นั้นจะต้องทำการตรวจยาสัตว์ตกค้างทั้งหมด 15 ชนิด ได้แก่


· Chloramphenical

· Nitrofurazone

· Nitrofurantoin

· Furazolidone

· Furaltadone

· Malachite green

· Chlortetracycline

· Oxytetracycline

· Tetracycline

· Colistin

· Erythromycin

· Flubendazole

· Neomycin

· Spectinomycin

· Tylosin


นอกจากสารพิษตกค้างทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวแล้ว “ไข่ไก่ปลอดสาร” ยังจำเป็นต้องปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค โดยเฉพาะเชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella spp) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีพบการปนเปื้อนบ่อยมากที่สุดในไข่ไก่ โดยแม่ไก่ที่มีเชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลาอาจส่งผ่านเชื้อโรคไปสู่ไข่ไก่ตั้งแต่เปลือกไข่ยังไม่ก่อตัว จึงทำให้การรับประทานไข่ดิบหรือรับประทานอาหารที่มีไข่ดิบเป็นส่วนผสมอาจเป็นอีกช่องทางหนึ่งของการติดเชื้อแบคทีเรียที่พิษต่อระบบทางเดินอาหารและเป็นสาเหตุของอาการลำไส้อักเสบชนิดนี้ได้



จะเห็นได้ว่ากว่าไข่ไก่ฟองนึงจะมาเป็น “ไข่ไก่ปลอดสาร” ได้อย่างแท้จริงนั้นจะต้องถูกตรวจสอบอย่างละเอียด ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ยากที่จะบอกได้ว่าไข่ไก่ที่ซื้อมานั้นเป็น “ไข่ไก่ปลอดสาร” จริงหรือแค่คำกล่าวอ้าง ดังนั้นวิธีการสังเกตุที่ง่ายที่สุด คือการตรวจสอบว่า “ไข่ไก่ปลอดสาร” ที่ซื้อมานั้นมีแหล่งที่มาอย่างไร เป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์หรือไม่ ได้รับการรับรองระบบการผลิตในระดับสากลบ้างหรือไม่


สำหรับไข่ไก่สดจากสงวนฟาร์ม และ “ไข่ไก่ซีลีเนียม”, “ไข่ไก่จากแม่ไก่สาว” และ ”ไข่ไก่จากแม่ไก่เลี้ยงแบบไม่ขังกรง (Cage Free)” ภายใต้แบรนด์ “The Good Egg Co” นั้น ทุกฟองได้รับการรับรองการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) และ มาตรฐานการผลิตที่มีมาตรการป้องกันอันตราย ที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการบริโภคอาหาร (Hazard Analysis Critical Control Point : HACCP) ในระดับสากล (Codex) และได้รับการรับรองมาตรฐาน “ไข่ไก่อนามัย” จากกรมปศุสัตว์ ซึ่งผ่านการตรวจสารพิษตกค้าง, สารปนเปื้อนและยาสัตว์ตกค้าง ทุกชนิดตามที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติได้กำหนดไว้ จึงมั่นใจได้เสมอว่าไข่ไก่สดของเราทุกฟองเป็น “ไข่ไก่ปลอดสาร” อย่างแน่นอน


“ไข่ไก่ปลอดสาร” จากสงวนฟาร์ม จัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ “The Good Egg Co” มีวางจำหน่ายที่

• Tops market สาขา เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว, เซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า, โรบินสัน ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต, สุขาภิบาล 3

• Golden Place สาขา พระราม 9, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ศูนย์ราชการ หลักสี่, สะพานสูง, ถนนสุโขทัย

• ตั้งฮั่วเส็ง สาขา ธนบุรี, บางลำพู, เก็ทอิทซุปเปอร์มาร์เก็ต อิมเมจมอลล์

bottom of page